วันจันทร์ที่ 19 กันยายน พ.ศ. 2559
วันศุกร์ที่ 9 กันยายน พ.ศ. 2559
เทคโนโลยีทางการศึกษา กล่าวไว้เป็น 2 นัย คือ เทคโนโลยีทางการศึกษา กับเทคโนโลยีของการศึกษา นัยทั้งสองมีความแตกต่างกันอย่างไร
เทคโนโลยีทางการศึกษา
กล่าวไว้เป็น 2 นัย คือ
เทคโนโลยีของการศึกษา คือสิ่งที่เป็นวัสดุอุปกรณ์ และกระบวนการจัดการที่เป็นระบบ ที่นำมาใช้ให้เกิดประโยชน์ในทุกวงการ เมื่อนำมาใช้ในวงการศึกษา ก็เรียกว่า"เทคโนโลยีทางการศึกษา"
เทคโนโลยีทางการเกษตร
เทคโนโลยีทางการแพทย์
ทัพสัมภาระ กับวิธีคิดแบบวิเคราะห์ระบบคืออะไร และมีบทบาทเกี่ยวข้องกับเทคโนโลยีทางการศึกษาอย่างไร
ทัพสัมภาระ คือ อุปกรณ์ต่าง ๆ ที่มีส่วนเข้ามาช่วยในการสอนทำให้การศึกษามีประสิทธิภาพมาก
ยิ่งขึ้นและเป็นเครื่องมือที่ช่วยในการสื่อถึงวิธีการคิดที่สลับซับซ้อนให้มีความเข้าใจง่ายยิ่งขึ้น
วิธีการคิดแบบวิเคราะห์ระบบ คือ วิธีการหรือเทคนิคใหม่ ๆ ที่ไม่ต้องใช้ทัพสัมภาระอย่าง
ใดเลย ที่นำมาใช้ปรับปรุงวิธีการสอนหรือวิธีการจัดการศึกษา มีผลดีหรือมีประสิทธิภาพสูงขึ้น
วิธีสอนแบบสาธิต ( Demonstration Method )
ที่มาของคลิปวิดีโอ: https://www.youtube.com/watch?v=GdY21mMFNzk
วิธีสอนแบบสาธิต ( Demonstration Method )
หมายถึงวิธีสอนที่ครูมีหน้าที่ในการวางแผนการเรียนการสอนเป็นส่วนใหญ่ โดยมีการแสดงหรือการกระทำให้ดูเป็นตัวอย่าง นักเรียนจะเกิดการเรียนรู้จากการสังเกต การฟัง การกระทำ หรือการแสดง และอาจเปิดโอกาสให้นักเรียนเข้ามามีส่วนร่วมบ้างเพื่อกระตุ้นความสนใจให้นักเรียนมีความสนใจในบทเรียนยิ่งขึ้น
ดังตัวอย่างในคลิปวิดีโอ เป็นการทดลองวิทยาศาสตร์ หรือการประดิษฐ์ที่เกี่ยวกับการเรียนการสอนวิชาวิทยาศาสตร์ อย่างเห็นได้ชัดว่า ผู้เรียนให้ความสนใจเป็นอย่างมาก ทำให้การเรียนไม่เกิดความน่าเบื่อ และผู้เรียนสามารถนำไปทำตามได้ จึงทำให้เกิดการเรียนรู้ด้วยตัวเอง และเกิดความเข้าใจในเนื้อหาซึ่งเรื่องนั้นอาจเป็ฯเรื่องที่เข้าใจยาก เนื้อหาเยอะ ทำให้การสอนแบบนี้ประหยัดเวลาในการสอนไปได้อย่างดีอีกแบบหนึ่ง
อุปกรณ์ที่ใช้ในการสอนและการจัดการศึกษา
อุปกรณ์ที่ใช้ในการสอนและการจัดการศึกษา
เป็นสื่อที่นับได้ว่าเป็นจุดเริ่มของสื่อการเรียนการสอน โดยเป็นสื่อที่บรรจุหรือถ่ายทอดข้อมูลเพื่อให้เกิดการเรียนรู้ด้วยการได้ยินเสียงและเห็นภาพ เช่น หนังสือตำราเรียน ภาพ ของจริง ของจำลอง จะเป็นสื่อที่บรรจุเนื้อหาในตัวเอง
ในที่นี้ยกตัวอย่างเป็นอุปกรณ์ที่เป็น ภาพ หรือเนื้อหาบทเรียนที่นำมาจากในหนังสือมาประยุกต์เป็นสื่อเพื่อให้ง่ายต่อการจำและเรียนรู้มากขึ้น ทำให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้ มีความรู้ ความเข้าใจในเนื้อหาวิชาที่เรียนและได้รับความพัฒนาเต็มตามศักยภาพ ดังคลิปวิดีโอที่ยกตัวอย่างมาข้างล่างนี้
แหล่งที่มาของคลิปวิดีโอ:
https://teacherkobwit2010.wordpress.com/
ค้นคว้าความหมายของ สารสนเทศ เทคโนโลยีสารสนเทศ เทคโนโลยีทางการศึกษา และนวัตกรรมการศึกษา
ความหมายของ “สารสนเทศ”
ได้มีนักวิชาการหลายท่านให้ความหมายไว้พอสรุปได้ ดังนี้
นฤมล ปราชญโยธิน, ทวีศักดิ์ กออนันตกูลและเปรมิน จินดาวิมลเลิศ
(2536: 24) ได้ให้ความหมายไว้ว่า
สารสนเทศ หมายถึง ข่าวสาร สนเทศ ข้อสนเทศ สารนิเทศ เอกสารสนเทศ ข้อมูลข่าวสารความรู้
และข้อความรู้
สารสนเทศ หมายถึง ข่าวสาร สนเทศ ข้อสนเทศ สารนิเทศ เอกสารสนเทศ ข้อมูลข่าวสารความรู้
และข้อความรู้
วีระ สุภากิจ (2539 : 4)
ได้ให้ความหมายไว้ว่า สารสนเทศ (Information) หมายถึง
ข้อมูลที่ได้ถูกกระทำให้มีความสัมพันธ์หรือมีความหมายนำไปใช้ประโยชน์ได้
ได้ให้ความหมายไว้ว่า สารสนเทศ (Information) หมายถึง
ข้อมูลที่ได้ถูกกระทำให้มีความสัมพันธ์หรือมีความหมายนำไปใช้ประโยชน์ได้
วาสนา
สุขกระสานติ (2540 : 1) ได้ให้ความหมายไว้ว่า สารสนเทศ (Information)
หมายถึง ข่าวสารที่ได้จากการนำข้อมูลดิบ (raw data) มาคำนวณทางสถิติหรือประมวลผลอย่างใดอย่างหนึ่ง
ซึ่งข่าวสารที่ได้ออกมานั้นจะอยู่ในรูปที่สามารถนำไปใช้งานได้ทันที
สุขกระสานติ (2540 : 1) ได้ให้ความหมายไว้ว่า สารสนเทศ (Information)
หมายถึง ข่าวสารที่ได้จากการนำข้อมูลดิบ (raw data) มาคำนวณทางสถิติหรือประมวลผลอย่างใดอย่างหนึ่ง
ซึ่งข่าวสารที่ได้ออกมานั้นจะอยู่ในรูปที่สามารถนำไปใช้งานได้ทันที
สุรวัฒน์ เหล็กกล้า (2540 : 10)
ได้ให้ความหมายไว้ว่า สารสนเทศ หมายถึง ข้อมูลที่ได้จัดกระทำแล้ว
โดยผ่านการประมวลผลด้วยวิธีการต่าง ๆ
จนมีความหมายสมบูรณ์และสามารถนำไปใช้ประโยชน์ประกอบการตัดสินใจตามวัตถุประสงค์ได้
ได้ให้ความหมายไว้ว่า สารสนเทศ หมายถึง ข้อมูลที่ได้จัดกระทำแล้ว
โดยผ่านการประมวลผลด้วยวิธีการต่าง ๆ
จนมีความหมายสมบูรณ์และสามารถนำไปใช้ประโยชน์ประกอบการตัดสินใจตามวัตถุประสงค์ได้
สุชาดา กีระนันทน์ (2541 : 5) สารสนเทศ (Information)
คือ ข้อความรู้ที่ประมวลได้จากข้อมูลต่าง ๆ
ที่เกี่ยวข้องในเรื่องนั้น จนได้ข้อสรุปเป็นข้อความรู้ที่สามารถนำไปใช้ประโยชน์ได้
โดยเน้นที่การเกิดประโยชน์คือความรู้ที่เกิดขึ้นกับผู้ใช้
คือ ข้อความรู้ที่ประมวลได้จากข้อมูลต่าง ๆ
ที่เกี่ยวข้องในเรื่องนั้น จนได้ข้อสรุปเป็นข้อความรู้ที่สามารถนำไปใช้ประโยชน์ได้
โดยเน้นที่การเกิดประโยชน์คือความรู้ที่เกิดขึ้นกับผู้ใช้
สรุป สารสนเทศ หมายถึง ข้อมูลที่ประมวลได้จากความรู้ และผ่านกระบวนการต่างๆออกมาแล้วได้เป็นข่าวสารที่สามารถนำมาใช้ประโยชน์ได้ในชีวิตประจำวันและให้ความรู้ที่เกิดกับผู้ใช้ๆออกมาแล้วได้เป็นข่าวสารที่สามารถนำมาใช้ประโยชน์ได้ในชีวิตประจำวันและให้ความรู้ที่เกิดกับผู้ใช้มีคุณค่าสำหรับใช้ในการดำเนินงานและการตัดสินใจ
ความหมายของ “เทคโนโลยีสารสนเทศ”
คำว่าเทคโนโลยีสารสนเทศ มาจากคำ 2 คำนำมารวมกัน
คือ คำว่า เทคโนโลยี และสารสนเทศ
เทคโนโลยี + สารสนเทศ = เทคโนโลยีสารสนเทศ
เมื่อพิจารณาความหมายของแต่ละคำจะมีความหมายดังนักวิชาการหลายท่านได้อธิบายถึงความหมายของคำว่าเทคโนโลยีสารสนเทศไว้มากมายและคล้ายคลึงกัน
อาทิเช่น
สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา สยามบรมราชกุมารี (2538: 4) ทรงอรรถาธิบายว่า คำว่า เทคโนโลยีสารสนเทศ หรือ Information
Technology ที่มักเรียกว่า ไอที (IT) นั้น
จะเน้นที่การจัดการกระบวนการดำเนินงานสารสนเทศหรือสารนิเทศ ในขั้นตอนต่างๆ
ตั้งแต่การเสาะแสวงหา การวิเคราะห์ การจัดเก็บ การจัดการ และการเผยแพร่เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพ
ความถูกต้อง ความแม่นยำ
และความรวดเร็วทันต่อการนำไปใช้ประโยชน์
ครรชิต มาลัยวงศ์ (2538: 24)
อธิบายว่า เทคโนโลยีสารสนเทศ ประกอบด้วยเทคโนโลยีสำคัญสองสาขา ได้แก่
เทคโนโลยีคอมพิวเตอร์ และเทคโนโลยีสื่อสารโทรคมนาคม กล่าวคือ เทคโนโลยีคอมพิวเตอร์จะช่วยทำงานด้านการจัดเก็บ
บันทึก และประมวลผลข้อมูลให้รวดเร็วและถูกต้อง
ส่วนเทคโนโลยีสื่อสารโทรคมนาคมจะช่วยส่งผลลัพธ์ของการใช้งานคอมพิวเตอร์ไปยังผู้ใช้ที่อยู่ห่างไกลได้อย่างรวดเร็วและสะดวก
อย่างไรก็ตาม ถ้าเป็นสมัยก่อน ๆ ยุคคอมพิวเตอร์ เทคโนโลยีสารสนเทศจะหมายถึง
เทคโนโลยีการพิมพ์ กล้องถ่ายรูป เครื่องพิมพ์ดีด
โทรเลขและโทรศัพท์
ผดุงยศ
ดวงมาลา ได้ให้ความหมายของเทคโนโลยีว่าปัจจุบันมีความหมายกว้างกว่ารากศัพท์เดิม
คือ หมายถึงกิจกรรมที่เกี่ยวข้องกับเครื่องจักรกล สิ่งประดิษฐ์ใหม่ ๆ ทาง
อุตสาหกรรม ถ้าในแง่ของความรู้ เทคโนโลยีจะหมายถึง
ความรู้หรือศาสตร์ที่เกี่ยวกับเทคนิคการผลิตในอุตสาหกรรม และกิจกรรมอื่น ๆ
ที่จะเอื้ออำนวยต่อการดำรงชีวิตของมนุษย์ หรืออาจสรุปว่า เทคโนโลยี คือ
ความรู้ที่มนุษย์ใช้ทรัพยากรต่าง ๆ ให้เกิดประโยชน์แก่มนุษย์เอง
ทั้งในแง่ความเป็นอยู่และการควบคุมสิ่งแวดล้อม
วศิณ ธูประยูร เทคโนโลยีสารสนเทศ
เป็นเทคโนโลยีใหม่ที่ใช้ในการประมวลผลสารสนเทศ ได้แก่ ไมโครคอมพิวเตอร์
เครื่องประมวลผลคำ และเครื่องที่สามารถประมวลผลได้โดยอัติโนมัติอื่นๆ
เครื่องสมองกลเหล่านี้ เป็นนวัตกรรมของมนุษย์ชาติที่สร้างขึ้นมา เพื่อรวบรวม ผลิต
สื่อสาร บันทึก เรียบเรียงใหม่ และแสดงผลประโยชน์จากสารสนเทศ
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช เทคโนโลยีสารสนเทศ หมายถึง
เทคโนโลยีทุกอย่างที่เกี่ยวข้องกับสารสนเทศ เริ่มจากเทคโนโลยีที่ใช้ในการจัดเก็บ
ประมวลผล แสดงผล และเผยแพร่สารสนเทศในรูปของข้อมูล
ข้อความหมายและเรื่องโดยใช้เทคโนโลยีคอมพิวเตอร์และเทคโนโลยีโทรคมนาคม
สรุป เทคโนโลยีสารสนเทศ หมายถึง การนำเอาเทคโนโลยีมาใช้สร้างมูลค่าเพิ่มให้กับสารสนเทศ
ทำให้สารสนเทศมีประโยชน์ และใช้งานได้กว้างขวางมากขึ้น เทคโนโลยีสารสนเทศรวมไปถึงการใช้เทคโนโลยีด้านต่าง
ๆ ที่จะรวบรวม จัดเก็บ ใช้งาน ส่งต่อ หรือสื่อสารระหว่างกัน ในระบบสารสนเทศนั้น
ปัจจุบัน เทคโนโลยีสารสนเทศมีความสำคัญต่อวิถีชีวิต ทั้งด้านการติดต่อสื่อสาร
การเป็นแหล่งข้อมูลความรู้ การดำเนินธุรกิจ และอื่นๆ อีกนับไม่ถ้วน
ความหมายของ
“เทคโนโลยีทางการศึกษา”
Good C. (1973)
กล่าวว่า เทคโนโลยีการศึกษาหมายถึง
การนำหลักการทางวิทยาศาสตร์มาประยุกต์ใช้เพื่อการออกแบบและส่งเสริมระบบการเรียนการสอน
โดนเน้นที่วัตถุประสงค์ทางการศึกษาที่สามารถวัดได้อย่างถูกต้องแน่นอน
มีการยึดหลักผู้เรียนเป็นศูนย์กลางการเรียนมากกว่ายึดเนื้อหาวิชามีการใช้การศึกษาเชิงปฏิบัติโดยผ่านการวิเคราะห์และการใช้โสตทัศนูปกรณ์รวมถึงเทคนิคการสอนโดยใช้คอมพิวเตอร์
และอุปกรณ์อื่น ๆ
Gane and Briggs (1974)
กล่าวว่า เทคโนโลยีการศึกษา พัฒนาจากการออกแบบการเรียนการสอนรูปแบบต่าง ๆ
ที่สัมพันธ์กับพฤติกรรมศาสตร์ ทฤษฎีการเรียนรู้ เทคโนโลยีด้านวิทยาศาสตร์กายภาพ
และความสนใจในเรียนรู้ของแต่ละบุคคล
AECT (1977) ได้ให้คำนิยามไว้ว่า เทคโนโลยีการศึกษาเป็นสิ่งที่ซับซ้อน
เป็นกระบวนการบูรณาการที่เกี่ยวกับมนุษย์ วิธีดำเนินการ แนวคิด เครื่องมือ
และอุปกรณ์ เพื่อการวิเคราะห์ปัญหา การคิดวิธีการนำไปใช้
การประเมินและการจัดแนวทางการแก้ปัญหาในส่วนที่เกี่ยวกับการเรียนรู้ทั้งมวลของมนุษย์
กิดานันท์ มลิทอง (2540)
ได้ให้ความหมายว่า เทคโนโลยีการศึกษาเป็นการประยุกต์เอาแนวคิด เทคนิค วิธีการ
วัสดุ อุปกรณ์ การจัดระบบสารสนเทศ และสิ่งต่าง ๆ
มาใช้ในการศึกษาให้เกิดประสิทธิภาพสูงสุดเพื่อพัฒนาทรัพยากรมนุษย์
และกระตุ้นให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้ตลอดชีวิตทั้งในและนอกห้องเรียน
ชัยยงค์ พรหมวงศ์ (2545) ได้ให้ความหมายว่า
เทคโนโลยีการศึกษาเป็นศาสตร์ว่าด้วยวิธีการหรือการศึกษา เป็นเรื่องของระบบในการประยุกต์เอาเทคนิควิธีการ
แนวความคิด อุปกรณ์และเครื่องมือใหม่ๆ
มาใช้เพื่อช่วยแก้ปัญหาทางการศึกษาทั้งในด้านการขยายงานและด้านการปรับปรุงคุณภาพของการเรียนการสอน
สรุป เทคโนโลยีทางการศึกษาหมายถึง แนวทางหรือวิธีทางการศึกษา คือ การนำความรู้ที่เป็นระบบเพื่อใช้ในการแก้ปัญหาการศึกษาและการเรียนการสอน ซึ่งครอบคลุมองค์ประกอบ 3 ประการคือ วัสดุ อุปกรณ์ และวิธีการเทคโนโลยีทางการศึกษา เป็นการขยายแนวคิด ทัศนะให้กว้างขวางยิ่งขึ้น
ความหมายของ “นวัตกรรมทางการศึกษา”
สมบูรณ์ สงวนญาติ (2534) ให้ความหมายไว้ว่า
นวัตกรรมทางการศึกษา หมายถึง วิธีการปฏิบัติใหม่ๆ ในทางการศึกษา
ซึ่งแปลกไปจากเดิมอาจได้มาจากการค้นพบวิธีใหม่ๆ หรือปรับปรุงของเก่าให้เหมาะสม
โดยได้มีการทดลอง พัฒนา จนเป็นที่น่าเชื่อถือได้ว่า มีผลดีในทางปฏิบัติ
และสามารถทำให้ระบบการศึกษาดำเนินไปสู่เป้าหมายได้อย่างมีประสิทธิภาพ
กิดานันท์ มลิทอง (2540) ให้ความหมายไว้ว่า
นวัตกรรมการศึกษา หมายถึง
นวัตกรรมที่ช่วยให้การศึกษาและการเรียนการสอนมีประสิทธิภาพดียิ่งขึ้น
ผู้เรียนสามารถเกิดการเรียนรู้ได้อย่างรวดเร็วมีประสิทธิผลสูงกว่าเดิม
เกิดแรงจูงใจในการเรียนด้วยนวัตกรรมเหล่านั้น และประหยัดเวลาในการเรียนได้อีกด้วย
ในปัจจุบันมีการใช้นวัตกรรมการศึกษามากมายหลายอย่างซึ่งมีทั้งนวัตกรรมที่ใช้กันแพร่หลายแล้วและประเภทที่กำลังเผยแพร่
เช่น การสอนใช้คอมพิวเตอร์ช่วย การใช้แผ่นวีดิทัศน์เชิงโต้ตอบ สื่อหลายมิติ
และอินเทอร์เน็ต เหล่านี้เป็นต้น
วรวิทย์ นิเทศศิลป์ (2551) ให้ความหมายไว้ว่า
นวัตกรรมการศึกษา หมายถึง
การนำเอาความคิดหรือวิธีปฏิบัติทางการศึกษาใหม่ๆมาใช้กับการศึกษา
คณาจารย์ภาควิชาเทคโนโลยีและนวัตกรรมทางการศึกษา
(2539) ให้ความหมายไว้ว่า นวัตกรรมการศึกษา หมายถึง
แนวความคิดหรือวิธีการหรือเครื่องมือ
ซึ่งเป็นสิ่งแปลกใหม่ยังไม่เคยนำมาใช้ในวงการการศึกษามาก่อน
แต่ได้ถูกนำมาทดลองใช้เพื่อดูผลว่าได้ผลดีเพียงใด
ถ้าได้ผลดีก็จะได้รับการยอมรับและเผยแพร่ให้รู้จักและนำมาใช้กันอย่างกว้างขวางต่อไป
สุคนธ์ สินธพานนท์ (2553) ให้ความหมายไว้ว่า
นวัตกรรมทางการศึกษา หมายถึง สิ่งใหม่ๆ
ที่สร้างขึ้นมาเพื่อช่วยแก้ปัญหาเกี่ยวกับการจัดการเรียนการสอนหรือพัฒนาให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้อย่างมีประสิทธิภาพ
ได้แก่แนวคิด รูปแบบ วิธีการ กระบวนการ สื่อต่างๆ ที่เกี่ยวกับการศึกษา
สรุป นวัตกรรมทางการศึกษา หมายถึง สิ่งใหม่
ๆที่สร้างขึ้นมาเพื่ออำนวยความสะดวกและการหาความรู้อย่างกว้างขวางมากขึ้นต่อการศึกษา
เพื่อช่วยแก้ปัญหาและง่ายต่อการเรียนรู้อย่างมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น
แหล่งอ้างอิง
นฤมล ปราชญโยธิน, ทวีศักดิ์
กออนันตกูลและเปรมิน จินดาวิมลเลิศ. (2536). ความหมายของ
สารสนเทศ. (ออนไลน์).
แหล่งที่มา: http://www.elearning.msu.ac.th/opencourse/0503706/04_.htm
(สืบค้นเมื่อ 9 กันยายน 2559)
วาสนา สุขกระสานติ. (2540). ความหมายของสารสนเทศ.
(ออนไลน์). แหล่งที่มา:
http://www.elearning.msu.ac.th/opencourse/0503706/04_.htm
(สืบค้นเมื่อ 9 กันยายน
2559)
วีระ
สุภากิจ. (2539). ความหมายของสารสนเทศ.
(ออนไลน์). แหล่งที่มา:
http://www.elearning.msu.ac.th/opencourse/0503706/04_.htm (สืบค้นเมื่อ
9 กันยายน 2559)
สุชาดา กีระนันทน์. (2541). ความหมายของสารสนเทศ.
(ออนไลน์). แหล่งที่มา:
http://www.elearning.msu.ac.th/opencourse/0503706/04_.htm (สืบค้นเมื่อ
9 กันยายน 2559)
สุรวัฒน์ เหล็กกล้า. (2540). ความหมายของสารสนเทศ.
(ออนไลน์). แหล่งที่มา:
http://www.elearning.msu.ac.th/opencourse/0503706/04_.htm (สืบค้นเมื่อ
9 กันยายน 2559)
http://computer.pcru.ac.th/suchada/4000108_Learning/doc/word/108_ch1_Information Technology (สืบค้นเมื่อ 9 กันยายน 2559)
ผดุงยศ ดวงมาลา. ความหมายของเทคโนโลยีสารสนเทศ. (ออนไลน์). แหล่งที่มา:
http://53111316091.blogspot.com/2012/11/blog-post_5235.html (สืบค้นเมื่อ 9 กันยายน 2559)
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. ความหมายของเทคโนโลยีสารสนเทศ. (ออนไลน์). แหล่งที่มา:
http://53111316091.blogspot.com/2012/11/blog-post_5235.html (สืบค้นเมื่อ 9 กันยายน 2559)
วศิณ ธูประยูร . ความหมายของเทคโนโลยีสารสนเทศ. (ออนไลน์). แหล่งที่มา:
http://53111316091.blogspot.com/2012/11/blog-post_5235.html (สืบค้นเมื่อ 9 กันยายน 2559)
สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา สยามบรมราชกุมารี.
(2538). ความหมายของ
เทคโนโลยีสารสนเทศ.
(ออนไลน์). แหล่งที่มา: http://computer.pcru.ac.th/suchada/4000108_Learning/doc/word/108_ch1_Information
Technology (สืบค้นเมื่อ 9 กันยายน 2559)
กิดานันท์ มลิทอง. (2540). ความหมายของเทคโนโลยีทางการศึกษา. (ออนไลน์). แหล่งที่มา:
https://www.gotoknow.org/posts/103617..... (สืบค้นเมื่อ 9 กันยายน 2559)
ชัยยงค์ พรหมวงศ์. (2545). ความหมายของเทคโนโลยีทางการศึกษา. (ออนไลน์). แหล่งที่มา:
https://www.gotoknow.org/posts/103617..... (สืบค้นเมื่อ 9 กันยายน 2559)
AECT. (1977). ความหมายของเทคโนโลยีทางการศึกษา. (ออนไลน์). แหล่งที่มา:
https://www.gotoknow.org/posts/103617..... (สืบค้นเมื่อ 9 กันยายน 2559)
Gane and Briggs. (1974). ความหมายของเทคโนโลยีทางการศึกษา. (ออนไลน์). แหล่งที่มา:
https://www.gotoknow.org/posts/103617..... (สืบค้นเมื่อ 9 กันยายน 2559)
Good C. (1973). ความหมายของเทคโนโลยีทางการศึกษา. (ออนไลน์).
แหล่งที่มา:
https://www.gotoknow.org/posts/103617.....
(สืบค้นเมื่อ 9 กันยายน 2559)
กิดานันท์ มลิทอง. (2540). ความหมายของนวัตกรรมทางการศึกษา.
(ออนไลน์). แหล่งที่มา:
https://thanetsupong.wordpress.com/
(สืบค้นเมื่อ 9 กันยายน 2559)
คณาจารย์ภาควิชาเทคโนโลยีและนวัตกรรมทางการศึกษา.
(2539). ความหมายของนวัตกรรมทาง
การศึกษา.
(ออนไลน์). แหล่งที่มา: https://thanetsupong.wordpress.com/ (สืบค้นเมื่อ
9 กันยายน 2559)
วรวิทย์ นิเทศศิลป์. (2551). ความหมายของนวัตกรรมทางการศึกษา.
(ออนไลน์). แหล่งที่มา:
https://thanetsupong.wordpress.com/
(สืบค้นเมื่อ 9 กันยายน 2559)
สมบูรณ์ สงวนญาติ. (2534). ความหมายของนวัตกรรมทางการศึกษา.
(ออนไลน์). แหล่งที่มา:
https://thanetsupong.wordpress.com/
(สืบค้นเมื่อ 9 กันยายน 2559)
สุคนธ์ สินธพานนท์. (2553). ความหมายของนวัตกรรมทางการศึกษา. (ออนไลน์).
แหล่งที่มา:
https://thanetsupong.wordpress.com/
(สืบค้นเมื่อ 9 กันยายน 2559)
วันพฤหัสบดีที่ 1 กันยายน พ.ศ. 2559
THAILAND 4.0 by MOC
Thailand 4.0
Thailand 4.0 คืออะไร ศัพท์ใหม่ที่คนไทยควรรู้
ก่อนจะเข้าสู่ Thailand 4.0 ขอเกริ่นด้วย Thailand 1.0 Thailand 2.0 และ Thailand 3.0 ก่อน ทั้งหมดที่กล่าวมานี้ล้วนเป็น “โมเดลการพัฒนาประเทศไทย” ถ้าใน Thailand 1.0 จะเน้นภาคเกษตร Thailand 2.0 เน้นภาคอุตสาหกรรมเบา และ Thailand 3.0 เน้นภาคอุตสาหกรรมหนักและการส่งออก
โมเดลพัฒนาประเทศไทยทั้ง 3 โมเดลที่ผ่านมา ทำให้ประเทศไทยจัดอยู่ในกลุ่มประเทศ “รายได้ปานกลางขั้นสูง” แต่ก็หยุดอยู่แค่นั้น ทำให้มีแนวคิด Thailand 4.0 ออกมา ซึ่งจะสามารถขับเคลื่อนประเทศให้ไปได้ไกลกว่านั้นเยอะ โดยโมเดลนี้เป็นแนวคิดที่จะนำโครงสร้างเศรษฐกิจไปสู่ “Value-Based Economy” หรือ “เศรษฐกิจที่ขับเคลื่อนด้วยนวัตกรรม”
เศรษฐกิจที่ขับเคลื่อนด้วยนวัตกรรม ได้แก่
1.เปลี่ยนจากการผลักดันสินค้าโภคภัณฑ์ไปสู่สินค้าเชิงนวัตกรรม
2.เปลี่ยนจากการขับเคลื่อนประเทศด้วยภาคอุตสาหกรรมไปสู่การขับเคลื่อนด้วยเทคโนโลยี และความคิดสร้างสรรค์
3 .เปลี่ยนจากการเน้นภาคการผลิตสินค้าไปสู่การเน้น ภาคบริการมากขึ้น
องค์ประกอบของโมเดลการพัฒนาประเทศไทย Thailand 4.0 ได้แก่
1.เปลี่ยนจากเกษตรแบบดั้งเดิม สู่เกษตรสมัยใหม่ เน้นบริหารจัดการและเทคโนโลยี เตรียมปั้นเกษตรกรเป็นผู้ประกอบการ ทั้งยังเป็นเกษตรกรที่มีฐานะร่ำรวย
2.เปลี่ยนจาก Traditional SMEs หรือ SMEs ที่มีภาครัฐคอยช่วยเหลือ เพื่อผลักดันสู่การเป็น Smart Enterprises และ Startups ที่มีศักยภาพสูง
3.เปลี่ยนจาก Traditional Services ที่มีมูลค่าต่ำสู่ High Value Services
4.เปลี่ยนจากแรงงานทักษะต่ำ สู่แรงงานที่มีความรู้ความเชี่ยวชาญ และทักษะสูง
เป้าหมายที่ได้จากโมเดลนี้คือเปลี่ยนประเทศไทยที่จัดอยู่ในกลุ่มประเทศ “รายได้ปานกลางขั้นสูง” ให้กลายเป็นกลุ่ม “ประเทศที่มีรายได้สูง” ด้วยนวัตกรรมที่ช่วยยกระดับคุณภาพของเศรษฐกิจ จากกลไกต่างๆ เน้นไปทางการนำเทคโนโลยีเข้ามาปรับใช้
1.กลุ่มอาหาร เกษตร และเทคโนโลยีชีวภาพ
2.กลุ่มสาธารณสุข สุขภาพ และเทคโนโลยีทางการแพทย์
3.กลุ่มเครื่องมืออุปกรณ์อัจฉริยะ หุ่นยนต์ และระบบเครื่องกลที่ใช้อิเล็กทรอนิกส์ควบคุม
4.กลุ่มดิจิตอล เทคโนโลยีอินเทอร์เน็ตเชื่อมต่อและบังคับอุปกรณ์ต่างๆ ปัญญาประดิษฐ์และทคโนโลยีสมองกลฝังตัว
5.กลุ่มอุตสาหกรรมสร้างสรรค์ วัฒนธรรม และบริการที่มีมูลค่าสูง
ข้อมูลโดย thairath.co.th
#ETDATHAILAND
#ETDATHAILAND
โดยสรุป Thailand 4.0 จะต้องไม่เป็นเพียงแค่การประดิษฐ์ Keyword ที่สวยหรู แต่ประเทศไทยจำเป็นต้องยกเครื่องกฎหมายและกฎระเบียบทั้งหมดที่เกี่ยวข้อง เพื่อรับมือกับธุรกิจและอุตสาหกรรมดิจิทัล โดยประเทศไทยต้องเสริมสร้างแผนการลงทุนในโครงสร้างพื้นฐานดิจิทัลให้มีความแข็งแกร่ง ทบทวนกฎหมายและกฎข้อบังคับสำหรับภาคส่วนที่สำคัญ (เช่น การให้บริการทางด้านการเงิน) และกระตุ้นระบบนิเวศดิจิทัลในประเทศให้มีความแข็งแกร่งขึ้น และดำเนินการให้เป็นไปตามขั้นตอนในการขยายการเข้าถึงโครงข่ายอินเตอร์เน็ตความเร็วสูงอย่างรวดเร็วให้ทันต่อความต้องการและการเปลี่ยนแปลงของทุกอุตสาหกรรม และหากประเทศไทยมีความแข็งแกร่งด้านการให้บริการดิจิทัลแล้ว ก็จะทำให้ประเทศสามารถเชื่อมโยงกับระบบเศรษฐกิจ ASEAN พร้อมกับการเป็นผู้นำการให้บริการดิจิทัลในภูมิภาคนี้และของโลกอย่างยั่งยืน
ที่มา : http://www.it24hrs.com/2016/thailand-4-0-digital-service-asean/
สมัครสมาชิก:
บทความ (Atom)