วันศุกร์ที่ 9 กันยายน พ.ศ. 2559

ค้นคว้าความหมายของ สารสนเทศ เทคโนโลยีสารสนเทศ เทคโนโลยีทางการศึกษา และนวัตกรรมการศึกษา


ความหมายของ สารสนเทศ




ได้มีนักวิชาการหลายท่านให้ความหมายไว้พอสรุปได้ ดังนี้

            นฤมล ปราชญโยธิน, ทวีศักดิ์ กออนันตกูลและเปรมิน จินดาวิมลเลิศ
(2536: 24) ได้ให้ความหมายไว้ว่า
สารสนเทศ หมายถึง ข่าวสาร สนเทศ ข้อสนเทศ สารนิเทศ เอกสารสนเทศ ข้อมูลข่าวสารความรู้
และข้อความรู้
          วีระ สุภากิจ (2539 : 4)
ได้ให้ความหมายไว้ว่า สารสนเทศ (
Information) หมายถึง
ข้อมูลที่ได้ถูกกระทำให้มีความสัมพันธ์หรือมีความหมายนำไปใช้ประโยชน์ได้
วาสนา
สุขกระสานติ (2540 : 1)
ได้ให้ความหมายไว้ว่า สารสนเทศ (Information)
หมายถึง ข่าวสารที่ได้จากการนำข้อมูลดิบ (raw data) มาคำนวณทางสถิติหรือประมวลผลอย่างใดอย่างหนึ่ง
ซึ่งข่าวสารที่ได้ออกมานั้นจะอยู่ในรูปที่สามารถนำไปใช้งานได้ทันที
          สุรวัฒน์ เหล็กกล้า (2540 : 10)
ได้ให้ความหมายไว้ว่า สารสนเทศ หมายถึง ข้อมูลที่ได้จัดกระทำแล้ว
โดยผ่านการประมวลผลด้วยวิธีการต่าง ๆ
จนมีความหมายสมบูรณ์และสามารถนำไปใช้ประโยชน์ประกอบการตัดสินใจตามวัตถุประสงค์ได้
 สุชาดา กีระนันทน์ (2541 : 5) สารสนเทศ (Information)
คือ ข้อความรู้ที่ประมวลได้จากข้อมูลต่าง ๆ
ที่เกี่ยวข้องในเรื่องนั้น จนได้ข้อสรุปเป็นข้อความรู้ที่สามารถนำไปใช้ประโยชน์ได้
โดยเน้นที่การเกิดประโยชน์คือความรู้ที่เกิดขึ้นกับผู้ใช้


 สรุป สารสนเทศ หมายถึง ข้อมูลที่ประมวลได้จากความรู้ และผ่านกระบวนการต่างๆออกมาแล้วได้เป็นข่าวสารที่สามารถนำมาใช้ประโยชน์ได้ในชีวิตประจำวันและให้ความรู้ที่เกิดกับผู้ใช้ๆออกมาแล้วได้เป็นข่าวสารที่สามารถนำมาใช้ประโยชน์ได้ในชีวิตประจำวันและให้ความรู้ที่เกิดกับผู้ใช้มีคุณค่าสำหรับใช้ในการดำเนินงานและการตัดสินใจ



ความหมายของ เทคโนโลยีสารสนเทศ



คำว่าเทคโนโลยีสารสนเทศ มาจากคำ 2 คำนำมารวมกัน คือ คำว่า เทคโนโลยี และสารสนเทศ
เทคโนโลยี + สารสนเทศ = เทคโนโลยีสารสนเทศ
เมื่อพิจารณาความหมายของแต่ละคำจะมีความหมายดังนักวิชาการหลายท่านได้อธิบายถึงความหมายของคำว่าเทคโนโลยีสารสนเทศไว้มากมายและคล้ายคลึงกัน อาทิเช่น
       สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา สยามบรมราชกุมารี (2538: 4) ทรงอรรถาธิบายว่า   คำว่า เทคโนโลยีสารสนเทศ หรือ Information Technology ที่มักเรียกว่า ไอที (IT) นั้น จะเน้นที่การจัดการกระบวนการดำเนินงานสารสนเทศหรือสารนิเทศ ในขั้นตอนต่างๆ ตั้งแต่การเสาะแสวงหา การวิเคราะห์ การจัดเก็บ การจัดการ และการเผยแพร่เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพ ความถูกต้อง  ความแม่นยำ และความรวดเร็วทันต่อการนำไปใช้ประโยชน์
       ครรชิต  มาลัยวงศ์ (2538: 24) อธิบายว่า เทคโนโลยีสารสนเทศ ประกอบด้วยเทคโนโลยีสำคัญสองสาขา ได้แก่ เทคโนโลยีคอมพิวเตอร์ และเทคโนโลยีสื่อสารโทรคมนาคม กล่าวคือ เทคโนโลยีคอมพิวเตอร์จะช่วยทำงานด้านการจัดเก็บ บันทึก และประมวลผลข้อมูลให้รวดเร็วและถูกต้อง ส่วนเทคโนโลยีสื่อสารโทรคมนาคมจะช่วยส่งผลลัพธ์ของการใช้งานคอมพิวเตอร์ไปยังผู้ใช้ที่อยู่ห่างไกลได้อย่างรวดเร็วและสะดวก อย่างไรก็ตาม ถ้าเป็นสมัยก่อน ๆ ยุคคอมพิวเตอร์ เทคโนโลยีสารสนเทศจะหมายถึง เทคโนโลยีการพิมพ์ กล้องถ่ายรูป  เครื่องพิมพ์ดีด โทรเลขและโทรศัพท์
            ผดุงยศ ดวงมาลา ได้ให้ความหมายของเทคโนโลยีว่าปัจจุบันมีความหมายกว้างกว่ารากศัพท์เดิม คือ หมายถึงกิจกรรมที่เกี่ยวข้องกับเครื่องจักรกล สิ่งประดิษฐ์ใหม่ ๆ ทาง อุตสาหกรรม ถ้าในแง่ของความรู้ เทคโนโลยีจะหมายถึง ความรู้หรือศาสตร์ที่เกี่ยวกับเทคนิคการผลิตในอุตสาหกรรม และกิจกรรมอื่น ๆ ที่จะเอื้ออำนวยต่อการดำรงชีวิตของมนุษย์ หรืออาจสรุปว่า เทคโนโลยี คือ ความรู้ที่มนุษย์ใช้ทรัพยากรต่าง ๆ ให้เกิดประโยชน์แก่มนุษย์เอง ทั้งในแง่ความเป็นอยู่และการควบคุมสิ่งแวดล้อม
         วศิณ  ธูประยูร  เทคโนโลยีสารสนเทศ เป็นเทคโนโลยีใหม่ที่ใช้ในการประมวลผลสารสนเทศ ได้แก่ ไมโครคอมพิวเตอร์ เครื่องประมวลผลคำ และเครื่องที่สามารถประมวลผลได้โดยอัติโนมัติอื่นๆ เครื่องสมองกลเหล่านี้ เป็นนวัตกรรมของมนุษย์ชาติที่สร้างขึ้นมา เพื่อรวบรวม ผลิต สื่อสาร บันทึก เรียบเรียงใหม่ และแสดงผลประโยชน์จากสารสนเทศ
         มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช  เทคโนโลยีสารสนเทศ หมายถึง เทคโนโลยีทุกอย่างที่เกี่ยวข้องกับสารสนเทศ เริ่มจากเทคโนโลยีที่ใช้ในการจัดเก็บ ประมวลผล แสดงผล และเผยแพร่สารสนเทศในรูปของข้อมูล ข้อความหมายและเรื่องโดยใช้เทคโนโลยีคอมพิวเตอร์และเทคโนโลยีโทรคมนาคม


สรุป เทคโนโลยีสารสนเทศ หมายถึง การนำเอาเทคโนโลยีมาใช้สร้างมูลค่าเพิ่มให้กับสารสนเทศ ทำให้สารสนเทศมีประโยชน์ และใช้งานได้กว้างขวางมากขึ้น เทคโนโลยีสารสนเทศรวมไปถึงการใช้เทคโนโลยีด้านต่าง ๆ ที่จะรวบรวม จัดเก็บ ใช้งาน ส่งต่อ หรือสื่อสารระหว่างกัน ในระบบสารสนเทศนั้น ปัจจุบัน เทคโนโลยีสารสนเทศมีความสำคัญต่อวิถีชีวิต ทั้งด้านการติดต่อสื่อสาร การเป็นแหล่งข้อมูลความรู้ การดำเนินธุรกิจ และอื่นๆ อีกนับไม่ถ้วน





ความหมายของ
เทคโนโลยีทางการศึกษา






Good C. (1973) กล่าวว่า เทคโนโลยีการศึกษาหมายถึง การนำหลักการทางวิทยาศาสตร์มาประยุกต์ใช้เพื่อการออกแบบและส่งเสริมระบบการเรียนการสอน โดนเน้นที่วัตถุประสงค์ทางการศึกษาที่สามารถวัดได้อย่างถูกต้องแน่นอน มีการยึดหลักผู้เรียนเป็นศูนย์กลางการเรียนมากกว่ายึดเนื้อหาวิชามีการใช้การศึกษาเชิงปฏิบัติโดยผ่านการวิเคราะห์และการใช้โสตทัศนูปกรณ์รวมถึงเทคนิคการสอนโดยใช้คอมพิวเตอร์ และอุปกรณ์อื่น ๆ
                Gane and Briggs (1974) กล่าวว่า เทคโนโลยีการศึกษา พัฒนาจากการออกแบบการเรียนการสอนรูปแบบต่าง ๆ ที่สัมพันธ์กับพฤติกรรมศาสตร์ ทฤษฎีการเรียนรู้ เทคโนโลยีด้านวิทยาศาสตร์กายภาพ และความสนใจในเรียนรู้ของแต่ละบุคคล
                AECT (1977)  ได้ให้คำนิยามไว้ว่า  เทคโนโลยีการศึกษาเป็นสิ่งที่ซับซ้อน เป็นกระบวนการบูรณาการที่เกี่ยวกับมนุษย์ วิธีดำเนินการ แนวคิด เครื่องมือ และอุปกรณ์ เพื่อการวิเคราะห์ปัญหา การคิดวิธีการนำไปใช้ การประเมินและการจัดแนวทางการแก้ปัญหาในส่วนที่เกี่ยวกับการเรียนรู้ทั้งมวลของมนุษย์
                กิดานันท์ มลิทอง (2540) ได้ให้ความหมายว่า เทคโนโลยีการศึกษาเป็นการประยุกต์เอาแนวคิด เทคนิค วิธีการ วัสดุ อุปกรณ์ การจัดระบบสารสนเทศ และสิ่งต่าง ๆ มาใช้ในการศึกษาให้เกิดประสิทธิภาพสูงสุดเพื่อพัฒนาทรัพยากรมนุษย์  และกระตุ้นให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้ตลอดชีวิตทั้งในและนอกห้องเรียน
                ชัยยงค์  พรหมวงศ์ (2545) ได้ให้ความหมายว่า เทคโนโลยีการศึกษาเป็นศาสตร์ว่าด้วยวิธีการหรือการศึกษา เป็นเรื่องของระบบในการประยุกต์เอาเทคนิควิธีการ แนวความคิด อุปกรณ์และเครื่องมือใหม่ๆ มาใช้เพื่อช่วยแก้ปัญหาทางการศึกษาทั้งในด้านการขยายงานและด้านการปรับปรุงคุณภาพของการเรียนการสอน

สรุป เทคโนโลยีทางการศึกษาหมายถึง แนวทางหรือวิธีทางการศึกษา คือ การนำความรู้ที่เป็นระบบเพื่อใช้ในการแก้ปัญหาการศึกษาและการเรียนการสอน ซึ่งครอบคลุมองค์ประกอบ 3 ประการคือ วัสดุ อุปกรณ์ และวิธีการเทคโนโลยีทางการศึกษา เป็นการขยายแนวคิด ทัศนะให้กว้างขวางยิ่งขึ้น



ความหมายของ นวัตกรรมทางการศึกษา



สมบูรณ์ สงวนญาติ (2534) ให้ความหมายไว้ว่า นวัตกรรมทางการศึกษา หมายถึง วิธีการปฏิบัติใหม่ๆ ในทางการศึกษา ซึ่งแปลกไปจากเดิมอาจได้มาจากการค้นพบวิธีใหม่ๆ หรือปรับปรุงของเก่าให้เหมาะสม โดยได้มีการทดลอง พัฒนา จนเป็นที่น่าเชื่อถือได้ว่า มีผลดีในทางปฏิบัติ และสามารถทำให้ระบบการศึกษาดำเนินไปสู่เป้าหมายได้อย่างมีประสิทธิภาพ

กิดานันท์ มลิทอง (2540) ห้ความหมายไว้ว่า นวัตกรรมการศึกษา หมายถึง นวัตกรรมที่ช่วยให้การศึกษาและการเรียนการสอนมีประสิทธิภาพดียิ่งขึ้น ผู้เรียนสามารถเกิดการเรียนรู้ได้อย่างรวดเร็วมีประสิทธิผลสูงกว่าเดิม เกิดแรงจูงใจในการเรียนด้วยนวัตกรรมเหล่านั้น และประหยัดเวลาในการเรียนได้อีกด้วย ในปัจจุบันมีการใช้นวัตกรรมการศึกษามากมายหลายอย่างซึ่งมีทั้งนวัตกรรมที่ใช้กันแพร่หลายแล้วและประเภทที่กำลังเผยแพร่ เช่น การสอนใช้คอมพิวเตอร์ช่วย การใช้แผ่นวีดิทัศน์เชิงโต้ตอบ สื่อหลายมิติ และอินเทอร์เน็ต เหล่านี้เป็นต้น

วรวิทย์ นิเทศศิลป์ (2551) ให้ความหมายไว้ว่า นวัตกรรมการศึกษา หมายถึง การนำเอาความคิดหรือวิธีปฏิบัติทางการศึกษาใหม่ๆมาใช้กับการศึกษา

คณาจารย์ภาควิชาเทคโนโลยีและนวัตกรรมทางการศึกษา (2539) ให้ความหมายไว้ว่า นวัตกรรมการศึกษา หมายถึง แนวความคิดหรือวิธีการหรือเครื่องมือ ซึ่งเป็นสิ่งแปลกใหม่ยังไม่เคยนำมาใช้ในวงการการศึกษามาก่อน แต่ได้ถูกนำมาทดลองใช้เพื่อดูผลว่าได้ผลดีเพียงใด ถ้าได้ผลดีก็จะได้รับการยอมรับและเผยแพร่ให้รู้จักและนำมาใช้กันอย่างกว้างขวางต่อไป

สุคนธ์ สินธพานนท์ (2553) ให้ความหมายไว้ว่า นวัตกรรมทางการศึกษา หมายถึง สิ่งใหม่ๆ ที่สร้างขึ้นมาเพื่อช่วยแก้ปัญหาเกี่ยวกับการจัดการเรียนการสอนหรือพัฒนาให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้อย่างมีประสิทธิภาพ ได้แก่แนวคิด รูปแบบ วิธีการ กระบวนการ สื่อต่างๆ ที่เกี่ยวกับการศึกษา

สรุป นวัตกรรมทางการศึกษา หมายถึง สิ่งใหม่ ๆที่สร้างขึ้นมาเพื่ออำนวยความสะดวกและการหาความรู้อย่างกว้างขวางมากขึ้นต่อการศึกษา เพื่อช่วยแก้ปัญหาและง่ายต่อการเรียนรู้อย่างมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น 


แหล่งอ้างอิง

นฤมล ปราชญโยธิน, ทวีศักดิ์ กออนันตกูลและเปรมิน จินดาวิมลเลิศ. (2536).  ความหมายของ
สารสนเทศ. (ออนไลน์). แหล่งที่มา: http://www.elearning.msu.ac.th/opencourse/0503706/04_.htm (สืบค้นเมื่อ 9 กันยายน 2559)
วาสนา สุขกระสานติ. (2540). ความหมายของสารสนเทศ. (ออนไลน์). แหล่งที่มา:
http://www.elearning.msu.ac.th/opencourse/0503706/04_.htm (สืบค้นเมื่อ 9 กันยายน 2559)
วีระ สุภากิจ. (2539). ความหมายของสารสนเทศ. (ออนไลน์). แหล่งที่มา:                                            
http://www.elearning.msu.ac.th/opencourse/0503706/04_.htm (สืบค้นเมื่อ 9 กันยายน 2559)
สุชาดา กีระนันทน์. (2541). ความหมายของสารสนเทศ. (ออนไลน์). แหล่งที่มา:
http://www.elearning.msu.ac.th/opencourse/0503706/04_.htm (สืบค้นเมื่อ 9 กันยายน 2559)
สุรวัฒน์ เหล็กกล้า. (2540). ความหมายของสารสนเทศ. (ออนไลน์). แหล่งที่มา:
               http://www.elearning.msu.ac.th/opencourse/0503706/04_.htm (สืบค้นเมื่อ 9 กันยายน 2559)
 ครรชิต  มาลัยวงศ์. (2538). ความหมายของเทคโนโลยีสารสนเทศ. (ออนไลน์). แหล่งที่มา:

http://computer.pcru.ac.th/suchada/4000108_Learning/doc/word/108_ch1_Information Technology (สืบค้นเมื่อ กันยายน 2559)
ผดุงยศ ดวงมาลา. ความหมายของเทคโนโลยีสารสนเทศ. (ออนไลน์). แหล่งที่มา:
http://53111316091.blogspot.com/2012/11/blog-post_5235.html (สืบค้นเมื่อ 9 กันยายน 2559)
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. ความหมายของเทคโนโลยีสารสนเทศ. (ออนไลน์). แหล่งที่มา:
http://53111316091.blogspot.com/2012/11/blog-post_5235.html (สืบค้นเมื่อ 9 กันยายน 2559)
วศิณ  ธูประยูร . ความหมายของเทคโนโลยีสารสนเทศ. (ออนไลน์). แหล่งที่มา:
http://53111316091.blogspot.com/2012/11/blog-post_5235.html (สืบค้นเมื่อ 9 กันยายน 2559)
สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา สยามบรมราชกุมารี. (2538).  ความหมายของ
เทคโนโลยีสารสนเทศ. (ออนไลน์). แหล่งที่มา: http://computer.pcru.ac.th/suchada/4000108_Learning/doc/word/108_ch1_Information Technology (สืบค้นเมื่อ 9 กันยายน 2559)
 กิดานันท์ มลิทอง. (2540). ความหมายของเทคโนโลยีทางการศึกษา. (ออนไลน์). แหล่งที่มา:
https://www.gotoknow.org/posts/103617.....   (สืบค้นเมื่อ 9 กันยายน 2559)
ชัยยงค์  พรหมวงศ์. (2545). ความหมายของเทคโนโลยีทางการศึกษา. (ออนไลน์). แหล่งที่มา:
https://www.gotoknow.org/posts/103617.....   (สืบค้นเมื่อ 9 กันยายน 2559)
AECT. (1977). ความหมายของเทคโนโลยีทางการศึกษา. (ออนไลน์). แหล่งที่มา:
https://www.gotoknow.org/posts/103617.....  (สืบค้นเมื่อ 9 กันยายน 2559)
Gane and Briggs. (1974). ความหมายของเทคโนโลยีทางการศึกษา. (ออนไลน์). แหล่งที่มา:
https://www.gotoknow.org/posts/103617.....  (สืบค้นเมื่อ 9 กันยายน 2559)
Good C. (1973).  ความหมายของเทคโนโลยีทางการศึกษา. (ออนไลน์). แหล่งที่มา:
https://www.gotoknow.org/posts/103617..... (สืบค้นเมื่อ 9 กันยายน 2559)
กิดานันท์ มลิทอง. (2540)ความหมายของนวัตกรรมทางการศึกษา. (ออนไลน์). แหล่งที่มา:
https://thanetsupong.wordpress.com/ (สืบค้นเมื่อ 9 กันยายน 2559)
คณาจารย์ภาควิชาเทคโนโลยีและนวัตกรรมทางการศึกษา. (2539). ความหมายของนวัตกรรมทาง
การศึกษา. (ออนไลน์). แหล่งที่มา: https://thanetsupong.wordpress.com/ (สืบค้นเมื่อ 9 กันยายน 2559)
วรวิทย์ นิเทศศิลป์. (2551). ความหมายของนวัตกรรมทางการศึกษา. (ออนไลน์). แหล่งที่มา:
https://thanetsupong.wordpress.com/ (สืบค้นเมื่อ 9 กันยายน 2559)
สมบูรณ์ สงวนญาติ. (2534). ความหมายของนวัตกรรมทางการศึกษา. (ออนไลน์). แหล่งที่มา:
https://thanetsupong.wordpress.com/ (สืบค้นเมื่อ 9 กันยายน 2559)
สุคนธ์ สินธพานนท์. (2553). ความหมายของนวัตกรรมทางการศึกษา. (ออนไลน์). แหล่งที่มา:
https://thanetsupong.wordpress.com/ (สืบค้นเมื่อ 9 กันยายน 2559)


1 ความคิดเห็น: